วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

มาทำความรู้จักคุณและโทษของ ตัวทำละลาย (Solvent) กันเถอะ


ตัวทำละลาย (solvent) 
 เป็นของเหลวที่สามารถละลาย ตัวถูกละลาย ที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซได้เป็น สารละลาย ตัวทำละลายที่คุ้นเคยมากที่สุดและใช้ในชีวิตประจำวันคือน้ำ สำหรับคำจำกัดความที่อ้างถึง ตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvent) จะหมายถึงตัวทำละลายอีกชนิดที่เป็น สารประกอบอินทรีย์ (organic compound) และมี คาร์บอน อะตอมอยู่ด้วย
โดยปกติตัวทำละลายจะมี จุดเดือด ต่ำ และระเหยง่าย หรือสามารถกำจัดโดย การกลั่นได้ โดยทั่วไปแล้วตัวทำละลายไม่ควรทำปฏิกิริยากับตัวถูกละลาย คือ มันจะต้องมีคุณสมบัติ เฉื่อยทางเคมี ตัวทำละลายสามารถใช้ สกัด (extract) สารประกอบที่ละลายในมันจากของผสมได้ตัวอย่างที่คุ้นเคยได้แก่ การต้ม กาแฟ หรือ ชา ด้วยน้ำร้อน ปกติตัวทำละลายจะเป็นของเหลวใสไม่มีสีและส่วนใหญ่จะมีกลิ่นเฉพาะตัว ความเข้มข้นของสารละลายคือจำนวนสารประกอบที่ละลายในตัวทำละลายในปริมาตรที่กำหนด การละลาย (solubility) คือจำนวนสูงสุดของสารประกอบที่ละลายได้ในตัวทำละลาย ตามปริมาตรที่กำหนดที่ อุณหภูมิ เฉพาะ
ตัวทำละลายอินทรีย์ใช้ประโยชน์ทั่วไปดังนี้
  • ซักแห้ง (dry cleaning) เช่น เตตราคลอโรเอทิลีน (Tetrachloroethylene)
  • ใช้เจือจางสี (paint thinner) เช่น โทลูอีน (toluene) น้ำมันสน(turpentine)
  • ยาล้างเล็บและตัวทำละลายกาว เช่น อะซิโตน เมทิลอาซีเทต เอทิลอาซีเทต )
  • สารกำจัดคราบที่เป็นจุด เช่น เฮกเซน(hexane) ปิทรอลอีเทอร์(petrol ether)
  • สารชำระล้าง เช่น ซิตรัส (citrus) เทอร์ปีน(terpene)
  • น้ำหอม เช่น เอทานอล
  • เคมีสังเคราะห์


 
อันตรายจากการใช้สารทำละลาย
สารทำละลาย (Solvents)  
คือสารที่มีคุณสมบัติในการละลายสารอื่นได้ดี ระเหยได้ง่าย มีความไวไฟสูง มักมีใช้กันในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ หรือ มีผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันโดยทั่วไป เช่นการผสมสี การพ่นสี แลคเกอร์ กาวยาง น้ำยาทำความสะอาดชิ้นงานและเครื่องจักร น้ำยาขจัดคราบรอยเปื้อน น้ำยาลบคำผิด ฯลฯ ตัวอย่างของสารที่ใช้กัน เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน โทลูอีน ไซลีน ไตรคลอ โรอีเธน ไตรคลอโรเอทธีลีน เป็นต้น 
การระเหยของสาร  
คือการที่สารนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของอากาศ เราหายใจเข้าไปแล้วสารจะถูกซึ่มเข้าสู่กระแสเลือด ผ่าน หัวใจแล้วถูกสูบฉีดเข้าไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายและทำอันตรายต่ออวัยวะนั้น ๆ เช่น ตับไต สมองและเป็นอันตรายต่อ สุขภาพร่างกาย

 เฉียบพลัน หากหายใจเอาไอระเหยของสารเข้าไปมาก ๆ จะรู้สึกว่าหายใจขัด มีอาการระคายเคืองในคอ มึนศีรษะ คลื่นเหียน ระบบทางเดินอาหารอาจหยุดทำงานได้ 
 เรื้อรัง สารเคมีจะเข้าสู่ถุงลมปอด ซึ่มเข้าสู่กระแสเลือด และนำไปสู่อวัยวะภายในต่าง ๆทำให้เกิดโรคตับ โรคไต หรือ ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเนื้อเยื่อของระบบทางเดินหายใจ เมื่อได้รับสารทำละลายบ่อย ๆ อาจทำให้ติดสารนั้นได้เช่น การติดทินเนอร์ 

 เฉียบพลันสารทำละลายมีคุณสมบัติในการละลายไขมันได้ดี หากสัมผัสที่ผิวหนังจะละลายไขมันที่ผิวหนัง ทำให้ผิวหนัง แห้ง แตก ระคายเคือง และไหม้ได้ อีกทั้งยังสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด และทำอันตรายเช่นเดียวกับสารที่เข้าทางระบบ ทางเดินหายใจ 
 เรื้อรัง หากสัมผัสกับสารทำละลายเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบ (Contact Dermatitis)โดยมีอาการเป็นตุ่ม พุพอง รู้สึกเจ็บง่ายต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอักเสบรุนแรงขึ้น 

 

 เฉียบพลัน ถ้าสารทำละลายกระเซ็นเข้าตาจะทำให้เกิดอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล เกิดอาการระคายเคือง 
 เรื้อรัง เกิดจากการทำงานในบริเวณที่มีละออง ไอระเหยของสารทำลายเป็นเวลานาน ๆ มีอาการคือ ตาพร่ามัว เยื่อบุตาระคายเคือง สมรรถภาพการมองเห็นเสื่อมแบบถาวร
 การหายใจ ให้นำผู้นั้นออกมารับอากาศบริสุทธิ์ บางครั้งอาจต้องทำการผายปอด หากผู้ได้รับสารหยุดหายใจ 
 การกิน ห้ามให้ดื่มกินอะไรตามไป นอกจากมีระบุไว้ในเอกสารความปลอดภัยของสารเคมีตัวนั้น ๆ (MSDS : Material Safety Data Sheet) แล้วนำส่งแพทย์ทันที 
 ผิวหนัง เปิดน้ำให้ชะผ่านบริเวณที่โดนสารละลาย 15-20 นาที โดยห้ามทำการขัดถูบาดแผล ขณะเดียวกันก็ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีออกในขณะที่น้ำยังชะอยู่ ปิดแผลด้วยผ้าหรือวัสดุที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ห้ามใส่ครีมลงบนแผล ดูอาการหากไม่ดีขึ้น ให้พาไปพบแพทย์ 
 ตา ให้ไปที่ที่ล้างตาที่ใกล้ที่สุดทันที หากไม่มีให้ไปที่ก๊อกน้ำ สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ให้ถอดออกเพราะ จะเป็นตัวจับสารทำละลายไว้ ให้น้ำชะล้างตา 15-20 นาที โดยล้างจากหัวตาไปหางตา โดยให้ตาที่โดนสารนั้นอยู่ข้างล่างเพื่อ ไม่ไห้ตาอีกข้างรับสารไปด้วย ห้ามใส่ครีม ดูอาการหากยังไม่ดีขึ้นให้พาไปพบแพทย์


1. ผู้ใช้ควรศึกษาคุณสมบัติและอันตรายของสารทำละลายชนิดที่ใช้อยู่ ซึ่งหาดูได้จากเอกสารความปลอดภัยของสารเคมี (MSDS : Material Safety Data Sheet) หรือฉลากที่ติดมากับผลิตภัณฑ์2. ใช้สารทำละลายด้วยความระมัดระวัง และถูกต้องตามคำแนะนำ3. ในส่วนของงานที่ใช้สารทำละลายควรทำในระบบปิด หรือมีการระบายอากาศที่ดี ควรแยกการทำงานนี้ออกจากส่วนอื่น เพื่อป้องกันผู้อื่นไม่ให้รับสารเข้าไป4. ป้องกันไม่ให้สารทำละลายเข้าสู่ร่างกาย โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันที่ถูกต้อง และเหมาะสมขณะทำงาน รวมทั้งทราบถึงวิธีการใช้และการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี5. ห้ามใช้สารทำละลายล้างทำความสะอาดมือหรืออวัยวะอื่น ๆ 6. ห้ามสูบบุหรี่ขณะทำงาน เพราะทำให้สารทำละลายเข้าสู่ร่างกาย และอาจเกิดอัคคีภัยได้เพราะมีความไวไฟสูง7. หลังทำงานควรล้างมือหรืออาบน้ำให้สะอาดด้วยสบู่


อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจชนิดป้องกันละออง ไอระเหยของสารเคมี
อุปกรณ์ป้องกันสารเคมีกระเด็นเข้าตา
ถุงมือยาง ผ้ากันเปื้อนสำหรับสารเคมี ตามชนิดของสารทำละลาย

1. ต้องจัดสถานที่สำหรับเก็บสารทำละลายให้เป็นสัดส่วน ห้ามเก็บรวมกับสารเคมีตัวอื่น ๆ เช่น กรด ด่าง หรือสารไวไฟ2. เก็บสารทำละลายไว้ในภาชนะปิด อยู่ในที่เย็น การระบายอากาศดี และควรแบ่งสารทำละลายมาใช้คราวละน้อย ๆ 3. กรณีการเกิดเพลิงไหม้ สารทำละลายบางชนิดสามารถสลายตัวแล้วให้แก๊สพิษ ดังนั้นในการดับเพลิงต้องสวมอุปกรณ์ ป้องกันระบบหายใจ4. น้ำยาดับเพลิงควรใช้ชนิดโฟม ที่ไม่ละลายในตัวทำละลาย5. ในกรณีทำสารทำละลายหก รั่ว ต้องรีบดำเนินการควบคุมให้เร็วที่สุด โดยปฎิบัติตามคู่มือแนะนำความปลอดภัย6. สารทำละลายบางชนิดเป็นสารไวไฟ การนำมาใช้งานจะต้องระมัดระวัง ห่างจากแหล่งความร้อนหรือประกายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต้องใช้ต้องเป็นแบบป้องกันการเกิดประกายไฟ หรือการระเบิด เช่น มอเตอร์ สวิทช์


ที่มา : รวบรวมจาก ฝ่ายชีวอนามัย กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

ขอแนะนำ 
ผลิตภัณฑ์ล้าง/ทำความสะอาด
ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
CLN Call center
โทร.08-511-39968

        



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น