ตด หรือเรียกอีกอย่างว่า ผายลม เกิดจากมีอากาศหรือแก๊สในกระเพาะมากเกินไป คนทั่วไปตดประมาณวันละ 10-14 ครั้ง เรามักคิดว่าผู้ชายตดบ่อยกว่าผู้หญิง แต่ที่จริงแล้วทั้งชายและหญิงตดบ่อยพอๆ กัน เพียงแต่ตดของผู้หญิงมีปริมาตรน้อยกว่าผู้ชาย เพราะร่างกายเล็กกว่า และไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็ตดเหม็นได้พอๆ กัน
จากการศึกษา พบว่า 99% ของตดนั้นไม่มีกลิ่น กลิ่นเหม็นนั้นมาจากอีก 1% ที่เหลือเท่านั้น กลิ่นตดกับเสียงตดก็ไม่สัมพันธ์กัน นั่นหมายถึงตดที่ดังสนั่นไม่ได้มีกลิ่นเหม็นเสมอไป หรือคุณอาจตดเบาๆ ไม่มีใครได้ยิน แต่อาจส่งกลิ่นเหม็นอย่างร้ายกาจก็เป็นได้
ข้อแนะนำเพื่อให้ตดแต่น้อยและไม่มีกลิ่น
- อาหารบางประเภทไม่ควรกินมากเกินไป เช่น ไข่ เนื้อ และผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บร็อกโคลี่ เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยให้เป็นแก๊สที่มีกลิ่นเหม็น
- ถั่วและผักสดบางชนิดมีน้ำตาลที่ร่างกายย่อยไม่ได้ ซึ่งจะถูกส่งผ่านไปหมักหมมอยู่ในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยน้ำตาลพวกนี้แทน และทำให้เกิดแก๊สขึ้น
บางข้อมูลแนะนำให้กินถั่วและผักที่ปรุงสุกแล้ว หรือให้นำถั่วไปแช่น้ำ ให้น้ำท่วมถั่วสัก 2 นิ้ว คัดเมล็ดถั่วที่เสียหรือลอยน้ำทิ้งไป แช่ทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง หรือทิ้งไว้ข้ามคืนเลยก็ได้ ถ้ามีเวลาน้อยหรือรอไม่ไหว ให้นำถั่วไปแช่ในน้ำร้อน 10-15 นาทีขึ้นไป แล้วล้างน้ำออกก่อนนำไปปรุงอาหาร หรืออีกวิธีก็คือ นำถั่วไปล้างน้ำ ต้ม 3 นาที แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ก่อนนำไปปรุงอาหาร จะช่วยลดปัญหาผายลมจากการกินถั่วได้
แต่บางข้อมูลก็บอกว่าถึงแม้จะนำถั่วมาต้มให้สุกหรือแช่น้ำอย่างไร ก็ยังคงตดมากและเหม็นเหมือนเดิม ยกเว้นว่าจะทำตามวิธีที่นักวิจัยทดลองทำ นั่นก็คือนำถั่วมาต้มนาน 3 นาที แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นนาน 2 ชั่วโมง จากนั้นเทน้ำทิ้ง แล้วนำไปแช่ในน้ำเย็นใหม่อีก 2 ชั่วโมง เทน้ำทิ้งแล้วแช่อีก 2 ชั่วโมง แล้วสะเด็ดน้ำทิ้งเป็นครั้งสุดท้าย น้ำตาลในถั่ว 90% จะถูกกำจัดออกไป คราวนี้ตดจะไม่เหม็นมาก แต่ปริมาตรตดยังคงเท่าเดิม (ถ้าต้องทำถึงขนาดนี้ คงหายอยากหรือไม่ก็ยอมตด) |
- บางคนอาจผายลมเมื่อดื่มนมเข้าไป เพราะขาดเอนไซม์บางอย่าง เช่น แลคเตส ซึ่งช่วยย่อยน้ำตาลในนม
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมฟรัคโทส เช่น เครื่องดื่มกระป๋อง น้ำผลไม้กระป๋อง บางคนอาจดูดซึมน้ำตาลชนิดนี้ได้น้อย ทำให้ท้องอืดหรือผายลมมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเติมแก๊ส เช่น น้ำอัดลม เบียร์ โซดา เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะไปเพิ่มปริมาณลมหรือแก๊ส ทำให้เรอและผายลมมากขึ้น
- ลดอาหารไขมันสูง เพราะอาหารประเภทไขมันจะใช้เวลาย่อยนานกว่าอาหารประเภทอื่น จึงอาจอยู่ในกระเพาะได้นานถึง 2 ชั่วโมง แบคทีเรียมีเวลาเหลือเฟือในการสร้างแก๊สตด แต่ถ้ากินไขมันน้อยลง ลำไส้จะบีบตัวให้อาหารผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น แบคทีเรียสร้างแก๊สในลำไส้ได้ลดลง ก็จะช่วยป้องกันอาการท้องอืดและผายลมได้
- อาหารค้างคืนที่นำออกจากตู้เย็นมาอุ่น ก็สามารถกระตุ้นให้แบคทีเรียในอาหารผลิตแก๊สได้ การกินอาหารที่อุ่นซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงมีส่วนทำให้ตดบ่อย
- อย่ากินอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป เพราะระหว่างนั้นเราจะกลืนลมเข้าไปด้วย การกินช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด จะช่วยให้กลืนอากาศเข้าไปน้อยลง
- การอมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือสูบบุหรี่ ก็เช่นเดียวกัน เวลาที่เรากลืนน้ำลายหรือสูบบุหรี่ ก็จะกลืนอากาศเข้าไปด้วย
- การพูดมากๆ ก็อาจทำให้กลืนลมเข้าไปมากเช่นกัน
- กินขิง อบเชย หรือเปปเปอร์มินท์ อาจช่วยลดแก๊สในกระเพาะได้
- กินอาหารเครื่องดื่มที่มีจุลินทรีย์ชนิดดี (probiotic) เป็นประจำ เช่น แลคโตบาซิลลัสในโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว เพื่อให้จุลินทรีย์ชนิดดีไปแย่งอาหาร และลดจุลินทรีย์กลุ่มที่ชอบสร้างแก๊ส โดยเลือกโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ
- กินมื้อเล็กๆ แต่บ่อยขึ้น วันละ 5-6 มื้อ แต่ละมื้อกินไม่ต้องมาก หรือแค่เกือบอิ่ม
- ดื่มน้ำให้มากขึ้น โดยดื่มคราวละน้อยๆ แต่ดื่มบ่อยๆ ตลอดวัน
- การเดินหลังอาหารช้าๆ ประมาณ 10-15 นาที มีส่วนช่วยให้ลำไส้บีบตัวให้อาหารผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น แบคทีเรียมีเวลาสร้างแก๊สในลำไส้น้อยลง จึงช่วยลดการผายลมได้ การออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวให้มากเป็นประจำยังทำให้ลำไส้และระบบย่อยทำงานได้ดีอีกด้วย
ในขณะที่คนส่วนใหญ่ถูกสอนให้กระมิดกระเมี้ยนตด แพทย์ชาวฝรั่งเศส กลับบอกว่า อย่าอั้นมันไว้ |
“คนเราควรจะผายลมเพื่อกำจัดแก๊สที่เกิดขึ้นในตัวให้หมดในแต่ละวัน เพราะมันเป็นไปตามขบวนการตามธรรมชาติ การกลั้นเอาไว้อาจเป็นอันตรายกับลำไส้ อย่าได้อายในการระบายกลิ่นอายของร่างกายออกไป เพราะจะเป็นการรักษาสุขภาพของตนเองให้อยู่ดี” |
ถ้ากลั้นไม่ได้ อั้นไม่อยู่ เราขอแนะนำ CLN Stinker-X สลายกลิ่นไม่พึ่งประสงค์
ตัดการทำงานของกลิ่นในระดับเล็ก คืนความสุขให้สิ่งแวดล้อมและท่าน
www.facebook.com/clnclean
CALL:085-113-9968
E-mail:wiseversa168@gmail.com
credit:
http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9540000061577
https://i.imgflip.com/7cr6x.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น