วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ขยะ...ภัยอันตรายที่ใกล้ตัวคุณจนคุณอาจจะคาดไม่ถึง

สารพัดโรคร้ายจาก ภัยขยะ (ชีวจิต) 

          ทุกวันนี้ขยะจากบ้านเรือนจึงมีแต่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งเราไม่สามารถกำจัดได้หมด ขยะเหล่านี้ก็จะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ ได้ นายแพทย์สมิง เก่าเจริญ หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายเรื่องนี้ให้ฟังว่า ในแต่ละวันคนเราจึงมีโอกาสที่จะได้รับพิษภัยจากขยะอย่างไม่รู้ตัว ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยอันตรายที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย จนกระทั่งรุนแรงมาก อาจเกิดขึ้นโดยทันทีหรือสะสมในระยะยาว

 อย่างครอบครัวน้องแก้ว (นามสมมติ) หญิงสาววัย 18 ปี หนึ่งในชาวชุมชนกองขยะหนองแขม ที่เกิดและเติบโต ณ ที่แห่งนี้ เธอมีปัญหาเรื่องโรคผิวหนังตั้งแต่ยังเล็ก น้องแก้วเล่าไปพลางเกาแขนทั้งสองข้างไปว่า หากวันใดที่มีการเผาขยะ ตามตัวและใบหน้าของเธอจะมีผื่นแดงขึ้นไปทั่ว แล้วจึงกลายเป็นตุ่มน้ำใส พอเริ่มแตกจากการเกาก็จะเป็นแผล ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าแผลนั้นจะตกสะเก็ด พอเริ่มมีการเผาขยะใหม่ก็เป็นอีกครั้ง จึงทำให้ไม่หายเสียที
          ในเรื่องนี้ นายแพทย์โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เล่าเสริมให้ฟังว่า อาการดังกล่าวของน้องแก้ว เกิดขึ้นจากการสัมผัสฝุ่นละอองและควันไฟจากการเผาขยะ ทั้งนี้ยังรวมถึงฝุ่นละอองจากเศษขยะโดยตรงได้อีก โดยถือเป็นการเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง นอกจากนั้น นายแพทย์โสภณยังได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า อันตรายที่เกิดขึ้นจากขยะเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง ดังนี้คือ 

           1.ทางผิวหนัง อย่างกรณีของน้องแก้วแล้ว ยังรวมถึงการสัมผัสหรือจับต้องโดยตรง กับสารประกอบในผลิตภัณฑ์หรือขยะมีพิษบางตัว  เช่น ยาฆ่าแมลง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ทำให้ซึมเข้าสู่ผิวหนัง กระแสเลือด และเข้าสู่ร่างกายไปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา 
           2.ทางการหายใจ จากการสูดดมกลิ่นขยะ ฝุ่นละออง ก๊าซหรือไอสารพิษจากขยะอันตรายบางชนิด เช่น สี ตัวทำละลาย น้ำมันรถยนต์ เมื่อเราหายใจเข้าไปก็จะเข้าไปสะสมอยู่บริเวณปอด แล้วจึงดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ก่อให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจหรือทำลายอวัยวะภายในได้
           3.ทางเดินอาหาร โดยการรับประทานเข้าไปทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การได้รับสารพิษปนเปื้อนจากภาชนะใส่อาหารหรือจากมือ รวมถึงสารพิษที่สะสมในรูปของห่วงโซ่อาหารในพืชผักและเนื้อสัตว์ ซึ่งสารพิษเหล่านี้จะเข้าไปสะสมอยู่ในระบบทางเดินอาหาร เช่น ยารักษาโรคที่หมดอายุแล้ว หรือสารเคมีที่ระบุว่ามีอันตราย 


โรคร้ายที่มากับ "ภัยขยะ"
          ผลการสำรวจของชีวจิตโพลโครงการ 6 ที่ระบุว่า คนในสังคมไทยรู้ว่าขยะที่ทิ้งก่อให้เกิดโรค แต่ไม่ทราบว่าขยะนั้นส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อร่างกายถึงร้อยละ 92.3 โดยโรคภัยที่มาจากขยะ4 อันดับแรก ได้แก่ ท้องร่วงท้องเสีย โรคภูมิแพ้ คลื่นไส้อาเจียน และปวดศีรษะ ตามลำดับ
          ถึงแม้โรคที่เกิดจากขยะโดยตรงนั้น จะยังไม่ปรากฎการณ์ให้เห็นอย่างแน่ชัดนักในสายตาคนทั่วไป แต่จากข้อมูลการวิจัยที่ผ่านมา มีหลักฐานยืนยันว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรงคือ กลุ่มคนผู้รับซื้อของเก่า ซาเล้ง ผู้คุ้ยขยะ คนเก็บขยะ และประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง
          จากงานวิจัยของศิริศักดิ์ สุนทรไชย และวรรณวดี พูลพอกสิน ในปี 2548 ชี้ถึงผลกระทบทางสุขภาพของกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะใน 6 จังหวัด รวม 276 คน ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สรุปให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีผลการตรวจสุขภาพไม่ปกติ และกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีปริมาณแมงกานีสสูง รองลงมาคือ สารหนู ตะกั่ว และโครเมียม
          นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยของ คณะวิทยาศาสตร์สาธารณสุข มหาวิทยาลัยโตรอนโต ที่สำรวจคนเก็บขยะชาวกัมพูชา ในปี 2531 และคนเก็บขยะชาวเวียดนามในปี 2543 พบว่า คนเก็บขยะโดยส่วนมากแล้ว มีอาการติดเชื้อและเป็นโรคเจ็บป่วยจากขยะมูลฝอยถึง 14 ชนิด ด้วยกัน เช่น อาการเจ็บคอ เป็นไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคผิวหนัง โรคมาลาเรีย โรคระบาดหลากหลายประเภท โรคหัวใจ โรคทางสมอง และอาการท้องร่วง เป็นต้น 

          การวิจัยดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแค่คนเก็บขยะเท่านั้นที่ติดเชื้อโรคจากขยะ แต่ยังคงรวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะและมีสภาพชีวิตความเป็น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สกปรก มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคได้ง่ายมากยิ่งขึ้น 

          อันตรายจากเจ้าภัยขยะนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพของเรา จนก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้างนั้น ชีวจิตรวบรวมคำตอบไว้ดังนี้ค่ะ
           1.โรคระบบทางเดินอาหาร เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เช่น ไวรัส รา แบคทีเรียในขยะมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู ยุง แมลงสาบ และแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น โรคท้องร่วง โรคพยาธิต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น ได้แก่ เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้ออหิวาตกโรค ไทฟอยด์ และโรคบิด โดยเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายคนเรา จากการกินอาหารและน้ำ หรือการจับต้องด้วยมือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนเราได้โดยง่าย
           2.โรคจากการติดเชื้อ อันตรายจากขยะติดเชื้อโรค เช่น ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัย กระดาษทิชชูของคนที่เป็นวัณโรคใช้ขับเสมหะหรือน้ำลาย สำลีเช็ดแผล พลาสเตอร์ปิดแผลที่ใช้แล้ว อาหารเน่าบูด และซากสัตว์ ซึ่งอาจมีเชื้อไข้หวัดนก รวมถึงอันตรายจากอุบัติเหตุ ซึ่งคนในชุมชนแห่งนี้ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับกองขยะมักเจออยู่บ่อย ๆ ได้แก่ ขยะที่เป็นวัตถุมีคม เช่น ไม้แหลม แก้วแตก และโลหะมีคม ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อบาดทะยัก หรือจากวัสดุเปื้อนเลือด เช่น เข็มฉีดยาใช้แล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและโรคเอดส์ได้
           3.โรคภูมิแพ้ เกิดได้จากการสูดดมฝุ่นละอองที่ปลิวฟุ้งกระจายมาจากเศษขยะชนิดต่าง ๆ เช่น เศษกระดาษ ฝุ่นฝ้าย ผงหมึกพิมพ์จากเศษกระดาษ ตลอดจนของเสียที่เป็นอันตรายบางชนิดที่ระเหยหรือปล่อยสารต่าง ๆ ออกมาเป็นฝุ่นผสมอยู่ในอากาศ นอกจากนี้ การเผาขยะ อาจทำให้มีสารอันตรายปะปนอยู่ในอากาศ ในรูปของไอหรือฝุ่นของสารเคมีต่าง ๆ ได้เช่นกัน
           4.ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน เกิดจากกลิ่นเน่าเหม็น ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ ไม่มีการฝังกลบหรือจากการเก็บขยะไม่หมด ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นาน ๆ จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้น ได้แก่ ก๊าซมีเทนหรือก๊าซชีวภาพ ซึ่งติดไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนได้เช่นกัน
           5.โรคมะเร็ง เนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจากการสูดดมอากาศเสียของการเผาขยะ ซึ่งเกิดจากการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและสารพิษปนเปื้อนในอากาศ เช่น สารไดออกซินและฟิวแรนระหว่างการเผา ซึ่งสารทั้งสองนี้เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งและทำลายการทำงานของตับได้ นอกจากนี้ ยังมีอันตรายจากสารเคมีต่าง ๆ ของขยะพิษบางชนิด เช่น สารหนูในแบตเตอรี่มือถือ ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและมะเร็งปอดได้ หรือ สารเบริลเลียม ที่ใช้ในแผงวงจรหลักของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างมือถือ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด โดยผู้ที่ได้รับสารนี้อย่างต่อเนื่องจากการสูดดมจะกลายเป็นโรค Beryllicosis ซึ่งมีผลกับปอด และหากสัมผัสสารนี้จะทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังอย่างรุนแรง
           6.ผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งเรื่องนี้ คุณธีราพร วิริวุฒิกร รักษาการผู้อำนวยการส่วนของเสียอันตราย สำนักจัดการกากของเสียและอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้อธิบายไว้ว่า เกิดได้จากสารพิษในขยะอันตรายประเภทต่าง ๆ เช่น 












สารแมงกานีส 
           ผลิตภัณฑ์ที่พบ : ถ่านไฟฉาย กระป๋องสี เครื่องเคลือบดินเผา
           ผลต่อสุขภาพ : ปวดศีรษะ ง่วงนอน จิตใจไม่สงบ  ประสาทหลอน เกิดตะคริวที่แขน ขา มีอาการชา สมองสับสน สมองอักเสบ 
สารปรอท
           ผลิตภัณฑ์ที่พบ : หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดนีออน กระป๋องยาฆ่าแมลง กระจกส่องหน้า
           ผลต่อสุขภาพ : ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง เหงือกบวมอักเสบ เลือดออกง่าย ปวดท้อง ท้องร่วงอย่างแรง มีอาการสั่น กล้ามเนื้อกระตุก และเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงการพิการแต่กำเนิด
สารตะกั่ว
           ผลิตภัณฑ์ที่พบ : แบตเตอรี่รถยนต์ ยาฆ่าแมลง  หมึกพิมพ์  หลอดภาพในจอคอมพิวเตอร์แบบ CRT แผงวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
           ผลต่อสุขภาพ : ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ตัวซีด ปวดหลัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีอาการทางสมอง ทำให้ความจำเสื่อม ชักกระตุก และหมดสติ  ที่สำคัญ การได้รับสารนี้ในระยะยาวมีผลต่อไตและความพิการแต่กำเนิด
สารแคดเมียม
           ผลิตภัณฑ์ที่พบ : ถ่านนาฬิกาควอตซ์ แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ 
           ผลต่อสุขภาพ : ทำลายระบบประสาท ส่งผลกระทบโดยตรงต่อไตและกระดูก ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต ปวดในกระดูก
สารฟอสฟอรัส                     ผลิตภัณฑ์ที่พบ : ยาเบื่อหนู แผงวงจรโทรศัพท์มือถือ กระป๋องสี 
           ผลต่อสุขภาพ : เหงือกบวม เยื่อบุปากอักเสบ ทำลายระบบประสาทและระบบย่อยอาหาร 

สารประเภทอื่น
           ผลิตภัณฑ์ที่พบ : สเปรย์ ยาย้อมผม ยาทาเล็บ ยารักษาโรค เครื่องสำอางหมดอายุ ยาฆ่าแมลง
           ผลต่อสุขภาพ : เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และเยื่อบุทางเดินหายใจ ปวดศีรษะ หายใจขัด เป็นลม
          นอกจากนี้ ขยะยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นมลพิษของน้ำ มลพิษของดิน และมลพิษของอากาศ เพราะขาดการเก็บรวบรวมและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของโลกเราได้โดยตรง ยกตัวอย่างเช่น การเผาขยะในเมืองใหญ่ ๆ ก็จะเป็นมลพิษในอากาศ เกิดแก๊สพิษต่าง ๆ และแก๊สเรือนกระจก เป็นผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน 

          ทางออกสำหรับเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เพียงการหาพื้นที่ฝังกลบขยะแห่งใหม่ หรือโรงงานเผาขยะรุ่นใหม่เท่านั้น หากในระยะยาวแล้ว "การหาวิธีลดปริมาณขยะ" โดยคำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้สิ่งของเหล่านี้อย่างรู้คุณค่า และมองว่าขยะทุกชิ้นก็คือทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งของโลกเรา 
source:
http://health.kapook.com/view6905.htmlhttp://f.ptcdn.info/519/017/000/1396755783-1204230509-o.jpg                   http://i.kapook.com/faiiya/21-2-54/bin5.jpg                 http://media.komchadluek.net/img/size1/2011/11/17/8gcjdfb9g5e6cfeajicfe.jpg 



www.facebook.com/clnclean
CALL:085-113-9968
E-mail:wiseversa168@gmail.com



วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สนิม....เกิดได้อย่างไร แล้วจะขจัดอย่างไร ป้องกันได้อย่างไร วันนี้มีคำตอบ


ทำไมเหล็กถึงเป็นสนิม
สนิมเกิดจากออกซิเจนในอากาศ หรือในน้ำ รวมตัวกับเหล็ก เรามักพบว่า วัสดุที่ทำจากเหล็ก ที่อยู่ใกล้กับทะเลมักจะผุกร่อนเร็วกว่าปกติ ทั้งนี้ เนื่องมาจาก กรด และเกลือ ที่พัดพามาจากทะเลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดสนิมเร็วขึ้น วัสดุอุปกรณ์หรือของใช้หลายๆ ชนิดที่ทำมาจากเหล็กก็มีโอกาสเป็นสนิม เช่น หลังคาสังกะสี จักรยาน ซึ่งถ้าอยู่กลางแดดกลางฝนเป็นเวลานาน ก็จะเกิดปฏิกิริยาให้กลายเป็นสนิม และเกิดการผุกร่อนเช่นกัน ความจริงแล้ว เราแบ่งสนิมเหล็กออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดสีน้ำตาลอมแดง หรือสนิมสีแดง และสนิมอีกชนิดหนึ่งคือ สนิมสีดำ มักเกิดกับโลหะที่ทำจากเหล็ก ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ได้รับอากาศ และความร้อนอยู่เสมอ เช่น คีม มีด ค้อน โซ่ เป็นต้น การเกิดสนิม มักทำให้เหล็กผุกร่อน ดังนั้น จึงมีวิธีการป้องกันสนิม เพื่อไม่ให้ผิวของโลหะบริเวณด้านนอกสัมผัสกับน้ำ และอากาศ เช่น ทาน้ำมัน หรือสีเคลือบผิวไว้

การป้องกันเหล็กไม่ให้เกิดสนิม
1) ใช้วิธีการการเคลือบผิวเหล็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับน้ำและอากาศโดยตรง เช่น การทาสี การชุบโลหะ อาทิ ดีบุก สังกะสี วิธีนี้มักใช้งานขนาดเล็กหรือกลาง ข้อเสียของวิธีนี้คือ ผิวเคลือบชนิดนี้ สามารถหลุดออกได้ง่าย ทั้งกายภาพและเคมี และผิวเคลือบบางชนิดยังเร่งให้เกิดสนิมเร็วขึ้น เช่น ดีบุก เป็นต้น2) ใช้วิธีทำให้เป็นเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) โดยการเติมธาตุอื่นๆที่สามารถทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆขึ้นที่ผิวเหล็ก เช่น โครเมียม นิกเกิล ธาตุเหล่านี้จะสามารถสามารถสร้างฟิล์มบางๆที่ติดแน่นบนผิวเหล็ก ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับบรรยากาศโดยตรง ผิวเคลือบชนิดนี้นี้มีความคงทนทั้งทางกายภาพและเคมี เหล็กกล้าไร้สนิมมีหลายเกรด แต่ละเกรดก็จะส่วนผสมที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานแต่ละประเภท3) วิธีการป้องกันแบบแคโทดิก โดยใช้โลหะกันกร่อน ผูกติดกับชิ้นงานที่ต้องการไม่ให้เกิดสนิม โลหะที่นิยมใช้เป็นโลหะกันกร่อน เช่น แมกนีเซียม สังกะสี อะลูมีเนียมที่ทำการขัดผิวออกแล้ว4) ใช้วิธีการใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้เหล็กมีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าบริเวณใกล้เคียง (อังกฤษ: Impressed Current) ซึ่งจะทำให้เหล็กไม่เกิดการสูญเสียอิเล็กตรอนและกลายเป็นสนิม วิธีนี้สามารถป้องกันการเกิดสนิมได้ทุกสภาพแวดล้อม แตมีค่าใช้จ่ายที่วสูง และต้องอาศัยแหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้าซึ่งไม่สะดวกกบการโยกย้ายไปมา จึงเหมาะสมกับโครงสร้างใหญ่ๆ ที่ต้องใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดสนิมอย่างรุนแรง เช่น ท่อที่ฝังอยู่ใต้ดิน ท่อส่งน้ำมันใต้ทะเล เป็นต้น

การขจัดคราบสนิมออกจากพื้นผิว
ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนการเตรียมงานโลหะเปลือย คือ เจอสนิม ดังกรณีตัวอย่างรูปข้างล่างในการทำความสะอาดแผงระบายความร้อนที่ใช้งานมานาน มีคราบสนิมที่เกิดจากการใช้งาน ทางCLN แนะนำลูกค้าให้ใช้ผิตภัณฑ์ Rusty-X ผสมน้ำในอัตราส่วนที่แนะนำในคู่มือ พนบนพื้นผิวที่มีคราบสนิม ทิ้งไว้สักครู่แล้วใช้น้ำเปล่าธรรมดาล้าง คราบสนิมดังกล่าวก็หลุดอย่างง่ายดาย  หรือกรณีต่อมาที่เป็นชิ้นงานในอุตสาหกรรม มีคราบฝังติดแน่น ทาง CLN แนะนำให้พ่นผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทฯ ทิ้งไว้สักครู่แล้วใช้น้ำแรงดันสูงพ่น จากคราบที่ติดอยู่ก็หลุดออกไปอย่างง่ายดาย 


คราบสนิมและสิ่งสกปรกจะไม่เป็นเรื่องที่ทำให้ท่านลำบากใจอีกต่อไป หากท่านใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับงาน 
โทรหาเรา CLN เรามีบริการให้คำปรึกษาในการล้างทำความสะอาดทุกชนิดตามความต้องการของท่าน



โทร.08511-39968




SOURCE: http://www.thaimetaltrade.com/2010/index.php/knowledge/detail/288/th
https://pixabay.com/p-338755/ 
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A1

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผายลม หรือ ตด บ่งชี้ถึงสุขภาพของคุณอย่างไร

เคมีของ “ตด” กับผลทางสุขภาพ     ( ที่ไม่น่าเชื่อ และไม่ควรเชื่อ ) 
ประเด็นเกี่ยวกับ “กลิ่นตด” ที่แชร์กันทั่วว่ามีสรรพคุณสารพัด ทั้งรักษาโรค หรือมีผลดีกับสุขภาพ จนเชื่อว่า “น่าจะจริง” เพราะคนแชร์กันเยอะ  ตั้งแต่ลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็ง ป้องกันหัวใจวาย รักษาโรคอัลไซเมอร์ ยันช่วยสภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ลองตั้งสตินิดนึงก่อนที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะแชร์ต่อดีหรือไม่
สารเคมีใน “ลมตด” มีหลายชนิด แต่มีเพียงร้อยละ 1-2 ที่มีกลิ่นเหม็น แก๊สเหล่านี้มีธาตุกำมะถันหรือซัดเฟอร์เป็นองค์ประกอบ สารเคมีหลักที่มีกลิ่นในตด คือแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (hydrogen sulfide) หรือแก๊สไข่เน่า มีสูตรโครงสร้างคือ  H­­2S            
รองลงมาคือมีเทนไธออล (CH3SH) และไดเมธิลมีเทน (CH3SCH3) ตามลำดับ  แก๊สเหล่านี้เกิดจากเชื้อแบคมีเรียบางชนิดในลำไส้ ผลิตขึ้นระหว่างการย่อยอาหาร

Natural-Remedies-for-Diarrhea-2 copy
แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์มีความสำคัญในร่างกายมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ร่างกายมนุษย์มีการผลิตแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้เองในปริมาณต่ำๆ เพื่อใช้ในกระบวนการส่งสัญญาณทางชีววิทยาระดับเซลล์ ตัวอย่างเช่น เมื่อเซลล์ถูกทำให้เสียหาย ไฮโดรเจนซัลไฟด์จะช่วยในการทำงานของไมโตครอนเดรีย และทำให้เซลล์ไม่ถูกทำลาย มีชีวิตได้นานขึ้น ในสมองของคนไข้โรคอัลไซเมอร์ มีปริมาณของไฮโดรเจนซัลไฟด์ลดลงอย่างมาก การเพิ่มปริมาณไฮโดรเจนซัลไฟด์ในหนูทดลองที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ทำให้อาการของโรคดีขึ้น 
ในประเด็นเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ ไฮโดรเจนซัลไฟด์จะไปกระตุ้นการผลิตแก็สอีกชนิดคือไนตริคออกไซด์ (nitric oxide, NO) ซึ่งในที่สุดจะไปทำให้กล้ามเนื้อหัวใจคลายตัวและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ทำให้ลดอาการหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) ซึ่งนำไปสู่สภาวะหัวใจวาย 
ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่านักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและเข้าใจการทำงานของสารเคมีตัวเล็กๆ คือไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่เหม็นแต่มีประโยชน์ สารไฮโดรเจนซัลไฟด์เหล่านี้ผลิตขึ้นภายในเซลล์ ไม่ได้มาจากภายนอกร่างกาย เช่น จากการผายลม ดังนั้นความเข้าใจที่ว่ากลิ่นตดรักษาโรคควรจะต้องคิดใหม่ เข้าใจกันใหม่ 
แม้ว่าแก๊สไข่เน่าในปริมาณมากและเข้มข้นสูงอาจจะเป็นอันตรายถึงตายได้ แต่ข่าวดีคือการตดใส่เบาะ แก๊สมีกลิ่นเหล่านี้ก็ถูกดูดซับไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว
สำหรับกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นจากการผายลม กลิ่นบุหรี่ กลิ่นทุเรียน ฯลฯ ที่สร้างความกังวลใจ ไม่ว่าจะในที่ทำงาน ห้องประชุม ห้องพัก หรือแม้แต่ในห้องอาหาร คุณสามารถมีผู้ช่วยในการสลายกลิ่นดังกล่าว ด้วย       CLN : Stinger-X


ผลิตภัณฑ์ CLN : Stinger - X ผลิตจากสารสกัดจากธรรมชาติ มีคุณสมบัติในการสลายกลิ่นในอากาศ มิใช่การใช้กลิ่นหอมเพื่อมากลบกลิ่นไม่พึ่งประสงค์เหมือนที่หลายผลิตภัณฑ์ทำกัน แต่ผลิตภัณฑ์ Stinger-X จะทำการสลายกลิ่นเก่า ด้วยอนุภาคสลายประจุในอากาศ ทำให้เกลิ่นไม่พึ่งประสงค์จางหาย และไม่ทิ้งกลิ่นอับ เพิ่มความสดชื่นและสะอาดกลับมา  

ติดตาม CLN ได้ที่                            www.facebook.com/clnclean  
Source:
http://www.sc.mahidol.ac.th/usr/?p=428  http://i.giphy.com/xTiTnsiwoxekWiNQ3u.gif 
เอกสารอ้างอิง
1. Suarez, F.L., Springfield, J., Levitt, M.D. Identification of gases responsible for the odour of human flatus and evaluation of a device purported to reduce this odour. (1998) Gut, 43 (1), 100-404. (PMC)
2. Lowicka, E., Beltowski, J. Hydrogen sulfide (H2S) – The third gas of interest for pharmacologists (2007) Pharmacological Reports, 59 (1), 4-24. (PubMed)


วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

น้ำเสีย..เรื่องใกล้ตัวที่คุณมักมองข้าม PART 2

จากในตอนที่แล้วที่เล่าที่มาของแหล่งผลิตน้ำเสีย ผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อม มาตอนที่สองจะพูดถึงการจัดการ และการกำจัดน้ำเสีย 
ความสำคัญของระบบบำบัดน้ำเสีย
โรงบำบัดน้ำเสียเป็นสถานที่รวบรวมน้ำเสียจากบ้านเรือน แหล่งพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และสถาบัน เข้าสู่กระบวนการบำบัดแบบต่าง ๆ เพื่อกำจัดมลสารที่อยู่ในน้ำเสีย ให้มีคุณภาพดีขึ้นและไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมโดยรอบ โดยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือบางส่วนยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และอื่นๆ

แม้ว่าน้ำจะเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีการใช้ซ้ำหลายครั้งวนเวียนเป็นวัฏจักร และมีกระบวนการทำให้สะอาดโดยตัวมันเอง (Self Purification) แต่กระบวนการนี้ก็มีขีดความสามารถจำกัดในแต่ละแหล่งน้ำ ดังนั้น การบำบัดน้ำเสียจึงเป็นกลไกสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยลดภาระของแหล่งน้ำในการทำความสะอาดตัวเองตาม ธรรมชาติและช่วยป้องกันมิให้สารมลพิษปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา

การรวบรวมน้ำเสีย

ระบบท่อระบายน้ำเป็นระบบท่อที่มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่ซับซ้อนทำหน้าที่รวบรวมน้ำเสียจากที่พักอาศัย อุตสาหกรรม ธุรกิจพาณิชยกรรม และสถาบัน ให้ไหลไปตามท่อระบายน้ำซึ่งวางอยู่ใต้ดินไปสู่ระบบบัดน้ำเสียก่อนที่จะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจะใกล้เคียงกับอัตราการใช้น้ำในชุมชนนั้นๆ และการไหลของน้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสียจะแปรผันตามช่วงการใช้น้ำในแต่ละวัน และแปรผันตามฤดูกาลในแต่ละปี ทั้งนี้ระบบท่อระบายน้ำจะต้องมีความสามารถในการรองรับน้ำที่ไหลเข้าท่อระบายน้ำได้ทั้งหมดโดยไม่ก่อให้เกิดการรั่วซึมหรือทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้นภายในชุมชน

การบำบัดน้ำเสีย
การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะของน้ำเสีย ระดับการบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ สภาพทั่วไปของท้องถิ่น ค่าลงทุนก่อสร้างและค่าดำเนินการดูแลและบำรุงรักษา และขนาดของที่ดินที่ใช้ในการ ก่อสร้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียที่เลือกมีความเหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยการบำบัดน้ำเสียสามารถแบ่งได้ตามกลไกที่ใช้ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสีย ได้ดังนี้
1. การบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment) : เป็นวิธีการแยกเอาสิ่งเจือปนออกจากน้ำเสีย เช่น ของแข็งขนาดใหญ่ กระดาษ พลาสติก เศษอาหาร กรวด ทราย ไขมันและน้ำมัน โดยใช้อุปกรณ์ในการบำบัดทางกายภาพ คือ ตะแกรงดักขยะ ถังดักกรวดทราย ถังดักไขมันและน้ำมัน และถังตกตะกอน ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่มีในน้ำเสียเป็นหลัก
2. การบำบัดทางเคมี (Chemical Treatment) : เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทางเคมี เพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในน้ำเสีย วิธีการนี้จะใช้สำหรับน้ำเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ ค่าพีเอชสูงหรือต่ำเกินไป มีสารพิษ มีโลหะหนัก มีของแข็งแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก มีไขมันและน้ำมันที่ละลายน้ำ มีไนโตรเจนหรือฟอสฟอรัสที่สูงเกินไป และมีเชื้อโรค ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี ได้แก่ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน ถังกรอง และถังฆ่าเชื้อโรค

3. การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) : เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้กระบวนการทาง ชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียโดยเฉพาะสารคาร์บอนอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยความสกปรกเหล่านี้จะถูกใช้เป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในถังเลี้ยงเชื้อเพื่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียมีค่าความสกปรกลดลง โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Organisms) หรือไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Organisms) ก็ได้ ระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยหลักการทางชีวภาพ ได้แก่ ระบบ แอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activate Sludge, AS) ระบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor, RBC) ระบบคลอง วนเวียน (Oxidation Ditch, OD) ระบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon, AL) ระบบโปรยกรอง(Trickling Filter) ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย (Stabilization Pond) ระบบยูเอเอสบี (Upflow Anaerobic Sludge Blanket, UASB) และ ระบบกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter, AF) เป็นต้น 
การบำบัดน้ำเสีย สามารถแบ่งได้ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. การบำบัดขั้นต้น (Preliminary Treatment) และการบำบัดเบื้องต้น (Primary Treatment) : เป็นการบำบัดเพื่อแยกทราย กรวด และของแข็งขนาดใหญ่ ออกจากของเหลวหรือน้ำเสีย โดยเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย ตะแกรงหยาบ (Coarse Screen) ตะแกรงละเอียด (Fine Screen) ถังดักกรวดทราย (Grit Chamber) ถังตกตะกอนเบื้องต้น (Primary Sedimentation Tank) และเครื่องกำจัดไขฝ้า (Skimming Devices) การบำบัด น้ำเสียขั้นนี้สามารถกำจัดของแข็งแขวนลอยได้ร้อยละ 50 - 70 และกำจัดสารอินทรีย์ซึ่งวัดในรูปของบีโอดีได้ ร้อยละ 25 - 40 
2. การบำบัดขั้นที่สอง (Secondary Treatment) : เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดขั้นต้นและการบำบัดเบื้องต้นมาแล้ว แต่ยังคงมีของแข็งแขวนลอยขนาดเล็กและสารอินทรีย์ทั้งที่ละลายและไม่ละลายใน น้ำเสียเหลือค้างอยู่ โดยทั่วไปการบำบัดขั้นที่สองหรือเรียกอีกอย่างว่าการบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment) จะอาศัยหลักการเลี้ยงจุลินทรีย์ในระบบภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกินสารอินทรีย์ได้รวดเร็วกว่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และแยกตะกอนจุลินทรีย์ออกจากน้ำทิ้งโดยใช้ถังตกตะกอน (Secondary Sedimentation Tank) ทำให้น้ำทิ้งมีคุณภาพดีขึ้น จากนั้นจึงผ่านเข้าระบบฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคปนเปื้อน ก่อนจะระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือนำกลับไป ใช้ประโยชน์ (Reuse) การบำบัดน้ำเสียในขั้นนี้สามารถกำจัดของแข็งแขวนลอยและสารอินทรีย์ซึ่งวัดในรูปของ บีโอดีได้มากกว่าร้อยละ 80 
3. การบำบัดขั้นสูง (Advance Treatment หรือ Tertiary Treatment) : เป็นกระบวนการกำจัดสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) สี สารแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก และอื่นๆ ซึ่งยังไม่ได้ถูกกำจัดโดยกระบวนการบำบัดขั้นที่สอง ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดียิ่งขึ้นเพียงพอที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้ นอกจากนี้ยังช่วย ป้องกันการเติบโตผิดปกติของสาหร่ายที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำเน่า แก้ไขปัญหาความน่ารังเกียจของแหล่งน้ำอันเนื่องจากสี และแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ระบบบำบัดขั้นที่สองมิสามารถกำจัดได้ กระบวนการบำบัดขั้นสูง ได้แก
การกำจัดฟอสฟอรัส ซึ่งมีทั้งแบบใช้กระบวนการทางเคมีและแบบใช้กระบวนการทางชีวภาพ
การกำจัดไนโตรเจน ซึ่งมีทั้งแบบใช้กระบวนการทางเคมีและแบบใช้กระบวนการทางชีวภาพ โดยวิธีการทางชีวภาพนั้นจะมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเปลี่ยนแอมโมเนียไนโตรเจนให้เป็น ไนเทรต ที่เกิดขึ้นในสภาวะแบบใช้ออกซิเจน หรือที่เรียกว่า "กระบวนการไนทริฟิเคชั่น (Nitrification)" และขั้นตอนการเปลี่ยนไนเทรตให้เป็นก๊าซไนโตรเจน ซึ่งเกิดขึ้นในสภาวะไร้ออกซิเจน หรือที่เรียกว่า "กระบวนการดีไนทริฟิเคชั่น (Denitrification)" 
การกำจัดฟอสฟอรัสและไนโตรเจนร่วมกันโดยกระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกระบวนการแบบใช้อากาศและไม่ใช้อากาศในการกำจัดไนโตรเจนโดยกระบวนการไนตริฟิเคชันและกระบวนการดีไนตริฟิเคชันร่วมกับกระบวนการจับใช้ฟอสฟอรัสอย่างฟุ่มเฟือย (Phosphours Luxuty Uptake) ซึ่งต้องมีการใช้กระบวนการแบบไม่ใช้อากาศต่อด้วยกระบวนการใช้อากาศด้วยเช่นกัน ทั้งนี้จะต้องมีการประยุกต์ใช้โดยผู้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างดี 
การกรอง (Filtration) ซึ่งเป็นการกำจัดสารที่ไม่ต้องการโดยวิธีการทางกายภาพ อันได้แก่ สารแขวนลอยที่ตกตะกอนได้ยาก เป็นต้น 
การดูดติดผิว (Adsorption) ซึ่งเป็นการกำจัดสารอินทรีย์ที่มีในน้ำเสียโดยการดูดติดบนพื้นผิวของของแข็ง รวมถึงการกำจัดกลิ่นหรือก๊าซที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการเดียวกันการบำบัดกากตะกอนหรือสลัดจ์ (Sludge Treatment)
ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้หลักการทางชีวภาพจะมีกากตะกอนจุลินทรีย์หรือสลัดจ์เป็นผลผลิตตามมาด้วยเสมอ ซึ่งเป็นผลจากการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในการกินสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องบำบัดสลัดจ์เหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเน่าเหม็นของสลัดจ์ การเพิ่มภาวะมลพิษ และเป็นการทำลายเชื้อโรคด้วย นอก จากนี้การลดปริมาตรของสลัดจ์โดยการกำจัดน้ำออกจากสลัดจ์ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการเก็บขนไปกำจัดทิ้งหรือนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ทั้งนี้ในการบำบัดสลัดประกอบด้วยกระบวนการหลักๆ ได้แก่

1. การทำข้น (Thickener) โดยใช้ถังทำข้นซึ่งมีทั้งที่ใช้กลไกการตกตะกอน (Sedimentation) และใช้กลไกการลอยตัว (Floatation) ทำหน้าที่ในการลดปริมาณสลัดจ์ก่อนส่งไปบำบัดโดยวิธีการอื่นต่อไป
2. การทำให้สลัดจ์คงตัว (Stabilization) โดยการย่อยสลัดจ์ด้วยกระบวนการใช้อากาศ หรือ ใช้กระบวนการไร้อากาศ เพื่อทำหน้าที่ในการลดสารอินทรีย์ในสลัดจ์ ทำให้สลัดจ์คงตัวสามารถนำไปทิ้งได้โดยไม่เน่าเหม็น 
3. การปรับสภาพสลัดจ์ (Conditioning) เพื่อทำให้สลัดจ์มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ทำปุ๋ย การใช้ปรับสภาพดินสำหรับใช้ทางการเกษตร เป็นต้น 
4. การรีดน้ำ (Dewatering)เพื่อลดปริมาณสลัดจ์ที่จะนำไปทิ้งโดยการฝังกลบ การเผา หรือนำไปใช้ประโยชน์อื่น ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกในการขนส่ง โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการรีดน้ำ ได้แก่ เครื่องกรองสูญญากาศ (Vacuum filter) เครื่องอัดกรอง (Filter press) หรือเครื่องกรองหมุนเหวี่ยง (Centrifuge) รวมถึงการลานตากสลัดจ์ (Sludge drying bed)
การกำจัดกากตะกอนหรือสลัดจ์ (Sludge Disposal) 
หลังจากสลัดจ์ที่เกิดขึ้นจากการบำบัดน้ำเสียได้รับการบำบัดให้มีความคงตัว ไม่มีกลิ่นเหม็น และ มีปริมาตรลดลง เพื่อความสะดวกในการขนส่งแล้ว ในขั้นต่อมาก็คือ การนำสลัดจ์เหล่านั้นไปกำจัดทิ้งโดยวิธีการที่เหมาะสม ซึ่งวิธีการกำจัดทิ้งที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
การฝังกลบ (Landfill): เป็นการนำสลัดจ์มาฝังในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้และกลบด้วยชั้นดินทับอีก ชั้นหนึ่ง
การหมักทำปุ๋ย (Composting) : เป็นการนำสลัดจ์มาหมักต่อเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ย ซึ่งเป็นการนำสลัดจ์กลับมาใช้ประโยชน์ในการเป็นปุ๋ยสำหรับปลูกพืช เนื่องจากในสลัดจ์ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และแร่ธาตุต่างๆ
การเผา (Incineration) : เป็นการนำสลัดจ์ที่จวนแห้ง (ตั้งแต่ร้อยละ 40 ของของแข็งขึ้นไป) มาเผา เพราะเนื่องจากไม่สามารถนำไปใช้ทำปุ๋ยหรือฝังกลบได้
การบำบัดน้ำเสียยังมีระบบเข้ามาบริหารจัดการ ซึ่งในตอนต่อไปจะนำเสนอเรื่องบ่อบำบัดชนิดต่างๆ.
         ตอนที่1 น้ำเสีย..เรื่องใกล้ตัวที่คุณมักมองข้าม


Reference:
http://www.pcd.go.th/info_serv/water_wt.html#s2
http://www.sri.cmu.ac.th/~srilocal/water/page_04.htm







วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Hydrogen Sulfide Can Killed you!





We may have heard of hydrogen sulphide for a long time, but you know that hydrogen sulphide can kill people. The details in the table below.

Physiological effects of hydrogen sulfide.
The concentration of hydrogen sulfide in the air (Parts per million: ppm)on
 
30 ppm : bad smell like rotten eggs,
100 ppm : olfactory nerve degeneration in 2-15 minutes,
200 ppm:  cough and conjunctivitis
300 ppm : olfactory nerves deteriorate rapidly
600 ppm : end of consciousness within 30 minutes,
800 ppm : end of consciousness.
1000 ppm : end-consciousness instantly
2000 ppm : died in a few minutes



Hydrogen sulfide
name Hydrogen sulfide
AKA .name
Sewer gas, Sour gas, Pit gas, Hydrosulfuric acid, Sulfuretted hydrogen,.

Physical
colorless gas with a rotten egg smell. Heavier
 
description
hydrogen sulfide is a gas smell. Caused by the decomposition of waste and the remains of the creature. This gas is a gas suffocation (asphyxiation) are poisonous. Frequent cause of death Especially in the case into the potholes that look like underwater Confined fishing with dead fish rotting pile. Pit manure, livestock manure, etc.


standard in the workplace
ACGIH TLV - TWA 10 PPM, STEL 15 PPM
NIOSH REL - C 10 PPM (15 mg / m3)
OSHA PEL - C 20 PPM, Maximum Peak 50 PPM in 10 minutes |. ||||
IDLH 100 PPM
labor law, Thailand C 20 ppm,. 2549),
 
the air pollution emitted from industrial chimneys must not exceed 100 ppm in the production process that does not burn fuel and up to 80 ppm in the process of burning fuel. 
Standard body ACGIH BEI - N / A Property carcinogen IARC N / A ||||| ACGIH N / A source found in nature. 
Hydrogen sulfide found in nature This gas caused by the decomposition of organic substances containing sulfur components, such as manure, waste fossil creatures. Deep-sea species are mixed with gas due to the decomposition of the remains of marine creatures. The volcanic eruption, it would have come out with this type of gas (Volcanic gas) establishments that have found this type of gas. Bo compost Made of cow dung as manure, pig manure on farms. 
In the waste water treatment Drain and peel Sewage treatment works Underwater fishing The bins fish Inside are the remains of rotten fish pile up Corn or rice mill in a shed somewhere. The barn is a mechanism for loading grain into the interior belt. Under this type of equipment, which will include a small piece of rice or corn fell into a pile. Drilling for oil and natural gas are at risk of exposure from this source of marine fossils. Including refining, oil and natural gas as well. The underground coal mines Water is a substance used in a nuclear reactor [1] 
In the spring, some of which have high sulfur [2] As a result, during the manufacturing process (By product) of tannery plant pulp. 
The heat of the asphalt (asphalt fume) production plant and carbon disulfide (carbon disulfide) [2] The mechanism of pathogenesis. Binding and inhibiting the enzyme cytochrome oxidase in the mitochondria of the cells can not breathe (cellular asphyxiant) mechanism is the same mechanism of cyanide poisoning. (Cyanide) also has the effect of irritating the mucous membranes such as eyes, nose, trachea, lungs, causing pneumonia directly with water. 
Preparing for emergencies 
The incident has been the bane of this type is the most common victim is in a confined space. (Self-contained breathing apparatus, SCBA) and must have a team to help with the above. This gas is heavier than air The pungent smells foul The level of exposure it is only 0.025 ppm only flammable gas. And explosive (NFPA Code:. H4 F4 R0) rescue team to help, should not cause a spark in the final scene [3] clinical symptoms. acute Symptoms include irritation symptoms, the effects of inhibition of cell respiration ||||| irritation to the nose does not smell (Olfactory nerve paralysis) occurs at concentrations of 100 - 150 ppm, which causes loss of ability. a careful eye, nose, throat, bronchial symptoms, chest pain, shortness of breath, breathing quickly occur frequently. May have eyelid spasms Or skin burns occur. Lung irritation will cause pulmonary edema. (noncardiogenic pulmonary edema), inflammation of the lung parenchyma (chemical pneumonitis) symptoms occur within 2-3 hours after the onset of exposure ||||| inhibit breathing is faster. 
Since gas is inhaled, can be absorbed into the body much better.                           At a concentration of 600 - 800 ppm often makes the inhaled gas unconscious and died immediately. (Knockdown) syndrome is a very common reason for having this kind of gas. If the symptoms are less severe headaches, nausea, vomiting, dizziness, uncontrollable seizures and coma are symptoms of long-term exposure to very small amounts in the long term can cause eye irritation. Corneal ulcers, dizziness, weakness, nausea, the smell for a long time. The nose is adaptable not smell gas. Which is why it can not be built when gas volume is unusually high and strong odor [4] 

The survivors of the gas inhaled in large quantities. Symptoms may include mood swings personality changes Calculation of the brain The nose is adaptable not smell gas. Which is why it can not be built when gas volume is unusually high and strong odor [4] The survivors of the gas inhaled in large quantities. Symptoms may include mood swings personality changes Calculation of the brain The nose is adaptable not smell gas. Which is why it can not be built when gas volume is unusually high and strong odor [4] The survivors of the gas inhaled in large quantities. Symptoms may include mood swings
personality changes calculation of the brain.

reference
:http://www.summacheeva.org/index_thaitox_hydrogen_sulfide.htm
http://image.slidesharecdn.com/hydrogensulfide2011-150624142804-lva1-app6891/95/hydrogen-sulfide-3-638.jpg?cb=1435157875
https://host3.firewebsitehosting.com/~adams/images/scba/draeger%20drager%20pas%20lite%20industrial%20niosh%20scba%20adams%20fire%20800-942-5880.jpg
www.facebook.com/clnclean 

แก๊สไข่เน่า...แก๊สอันตรายที่คร่าชีวิตคุณได้


เราอาจจะเคยได้ยินชื่อแก๊สไข่เน่า มานานแล้ว แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแก๊สไข่เน่าสามารถปลิดชีวิตคนได้ จากรายละเอียดตามตารางข้างล่างนี้  
ผลกระทบทางสรีระวิทยาของก๊าซไข่เน่า
ความเข้มข้นก๊าซไข่เน่าในอากาศ (ส่วนในล้านส่วน : ppm)ผลกระทบ
30
กลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า
100
ประสาทรับรู้กลิ่นเสื่อมสภาพใน 2-15 นาที
200
ไอและตาแดง
300
ประสาทรับรู้กลิ่นเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
600
สิ้นสติภายใน 30นาที
800
สิ้นสติอย่างรวดเร็ว
1,000
สิ้นสติทันที
2,000
เสียชีวิตในไม่กี่นาที



Hydrogen sulfide 
ชื่อ แก๊สไข่เน่า (Hydrogen sulfide)
ชื่ออื่น Sewer gas, Sour gas, Pit gas, Hydrosulfuric acid, Sulfuretted hydrogen, Sulfur hydride
สูตรโมเลกุล H2S
น้ำหนักโมเลกุล 34.1
CAS Number 7783 – 06 – 4
UN Number 1053
ลักษณะทางกายภาพ  
แก๊สไม่มีสี มีกลิ่นเหม็นคล้ายไข่เน่า หนักกว่าอากาศ 
คำอธิบาย 
แก๊สไข่เน่าเป็นแก๊สที่มีกลิ่นเหม็น เกิดจากการย่อยสลายของซากของเสียและสิ่งมีชีวิต แก๊สชนิดนี้เป็นแก๊สสำลัก (asphyxiant) ที่มีพิษรุนแรง ทำให้เกิดการตายได้บ่อย โดยเฉพาะในกรณีการลงสู่หลุมบ่อที่มีลักษณะอับอากาศ เช่น ใต้ท้องเรือประมงที่มีซากปลาเน่าหมักหมม บ่อเก็บมูลสัตว์ทำปุ๋ยคอก เป็นต้น 
ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน  
ACGIH TLV – TWA 10 ppm, STEL 15 ppm  
NIOSH REL – C 10 ppm (15 mg/m3) 
OSHA PEL – C 20 ppm, Maximum peak 50 ppm in 10 minutes |||||
IDLH 100 ppm
กฎหมายแรงงานไทย C 20 ppm, Maximum peak 50 ppm in 10 minutes 
ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม NAAQS – N/A ||||| กฎหมายสิ่งแวดล้อมไทย – ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล่มที่ 123 ตอนที่ 50ง (พ.ศ. 2549) มาตรฐานอากาศเสียที่ระบายออกจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม ต้องไม่เกิน 100 ppm ในกระบวนการผลิตที่ไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง และไม่เกิน 80 ppm ในกระบวนการผลิตที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง 
ค่ามาตรฐานในร่างกาย ACGIH BEI - N/A
คุณสมบัติก่อมะเร็ง IARC N/A ||||| ACGIH N/A 
แหล่งที่พบในธรรมชาติ แก๊สไข่เน่าพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ แก๊สนี้เกิดขึ้นจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ที่มีธาตุกำมะถันเป็นองค์ประกอบ เช่น มูลสัตว์ ขยะของเสีย ซากสิ่งมีชีวิต ในทะเลลึกมีแก๊สชนิดนี้ผสมอยู่ด้วยเนื่องจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ในการเกิดภูเขาไฟระเบิดก็จะมีการปล่อยแก๊สชนิดนี้ออกมาด้วย (Volcanic gas) 
สถานประกอบการที่มีโอกาสพบแก๊สชนิดนี้
  • ในบ่อปุ๋ยหมัก ที่ทำจากมูลสัตว์ เช่น มูลโค มูลสุกร ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์
  • ในบ่อบำบัดน้ำเสีย งานลอกท่อระบายน้ำ งานบำบัดน้ำเสีย
  • ใต้ท้องเรือประมง ซึ่งมีช่องเก็บปลาอยู่ ภายในมีซากปลาเน่าหมักหมม
  • ในโรงสีข้าวหรือโรงเก็บข้าวโพดบางแห่ง ยุ้งฉางจะมีกลไกการขนข้าวเข้าภายในด้วยสายพาน ซึ่งใต้เครื่องจักรชนิดนี้จะมีช่องขนาดเล็กที่มีเศษข้าวหรือข้าวโพดตกลงไปหมักหมมอยู่ได้
  • งานขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสสารนี้จากแหล่งฟอสซิลในทะเล รวมถึงงานกลั่นน้ำมันและแก๊สธรรมชาติด้วย
  • เหมืองถ่านหินที่อยู่ใต้ดิน
  • ใช้เป็นสารน้ำอย่างหนึ่งในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ [1]
  • ในบ่อน้ำร้อนบางแหล่งที่มีกำมะถันสูง [2]
  • เป็นผลที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต (By product) ของ โรงฟอกหนัง โรงทำเยื่อกระดาษ ไอร้อนของยางมะตอย (asphalt fume) และโรงงานผลิตคาร์บอนไดซัลไฟด์ (carbon disulfide ) [2]

กลไกการก่อโรค เข้าจับและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cytochrome oxidase ใน mitochondria ทำให้ เซลล์ไม่สามารถหายใจได้ (cellular asphyxiant) กลไกนี้เป็นกลไกเดียวกับพิษของไซยาไนด์ (cyanide) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุโดยตรง เช่น ตา จมูก หลอดลม ปอด ทำให้ปอดบวมน้ำด้วย 

การเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • สถานที่เกิดเหตุการณ์ได้รับสารพิษชนิดนี้ที่พบบ่อยที่สุดคือประสบเหตุอยู่ในที่อับอากาศ ผู้ที่เข้าไปกู้ภัยจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่อับอากาศ (Confined space) อย่างดีเพียงพอแล้วเท่านั้นจึงจะเข้าไปทำการกู้ภัย ได้ การลงสู่ที่อับอากาศจะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังบรรจุอากาศในตัว (Self-contained breathing apparatus, SCBA) เท่านั้น และต้องมีทีมงานคอยช่วยเหลืออยู่ด้านบนด้วย
  • แก๊สชนิดนี้หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นฉุนเหม็นจัด ระดับรับสัมผัสกลิ่นอยู่ที่เพียง 0.025 ppm เท่านั้น แก๊สติดไฟได้ง่าย และเกิดการระเบิดได้ (NFPA Code: H4 F4 R0) ทีมกู้ภัยที่เข้าไปช่วยเหลือไม่ควรก่อประกายไฟในบริเวณที่เกิดเหตุเด็ดขาด [3]
อาการทางคลินิก
  • อาการเฉียบพลัน ประกอบด้วยอาการจากฤทธิ์ระคายเคืองกับอาการจากฤทธิ์ยับยั้งการหายใจของเซลล์ ||||| อาการระคายเคืองจะทำให้จมูกไม่ได้กลิ่น (Olfactory nerve paralysis) เกิดได้ที่ความเข้มข้น 100 – 150 ppm ซึ่งทำให้สูญเสียความสามารถในการระมัดระวังตัวไป อาการเคืองตา จมูก คอ หลอดลม แสบหน้าอก หายใจเร็ว หายใจสั้น เกิดขึ้นได้บ่อย อาจพบมีหนังตากระตุก หรือผิวหนังแสบร้อนเกิดขึ้นได้ อาการระคายเคืองปอดจะทำให้ปอดบวมน้ำ (noncardiogenic pulmonary edema) เกิดการอักเสบของเนื้อปอด (chemical pneumonitis) อาการเกิดขึ้นได้ภายใน 2 – 3 ชั่วโมงหลังการสัมผัส ||||| ส่วนอาการจากฤทธิ์ยับยั้งการหายใจจะเกิดได้เร็วกว่า เนื่องจากแก๊สที่สูดดมเข้าไปสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีมาก ที่ความเข้มข้น 600 – 800 ppm มักจะทำให้ผู้ที่สูดดมแก๊สหมดสติและเสียชีวิตไปในทันทีทันใด (knockdown) อาการนี้เป็นอาการที่พบได้บ่อยมากสำหรับการประสบเหตุจากแก๊สชนิดนี้ กรณีอาการรุนแรงน้อยกว่าจะพบ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน คลุ้มคลั่ง ชัก และโคม่าได้
  • อาการระยะยาว การสัมผัสปริมาณน้อยๆ ในระยะยาว จะทำให้เกิดระคายเคืองตา กระจกตาเป็นแผล มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เมื่อได้รับกลิ่นไปนานๆ จมูกจะปรับตัวทำให้ไม่ได้กลิ่นแก๊สนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่สามารถระมัดระวังตัวได้เมื่อแก๊สนี้มีปริมาณสูงผิดปกติและมีกลิ่นฉุนแรงขึ้น [4] กรณีผู้รอดชีวิตจากการสูดดมแก๊สในปริมาณมาก อาจมีอาการอารมณ์แปรปรวน บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง การคิดคำนวณของสมองทำได้ไม่ดี และจมูกไม่ได้กลิ่น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • การตรวจวินิจฉัยพิษจากแก๊สไข่เน่าให้ใช้ประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก แก๊สชนิดนี้ไม่มีตัวบ่งชี้การสัมผัส (No biomarker) การตรวจระดับ sulfhemoglobin ไม่ได้ช่วยในการยืนยันการสัมผัส [2]
  • ประวัติและอาการที่สนับสนุนคือ ประวัติหมดสติล้มลงไปในทันทีที่ได้รับแก๊สพิษ เพื่อนร่วมงานหรือหน่วยกู้ภัยได้กลิ่นเหม็นฉุนในบริเวณเกิดเหตุ เหรียญเงินหรือวัตถุที่เป็นเงินในตัวผู้ป่วยเปลี่ยนเป็นสีดำ เนื่องจากทำปฏิกิริยากับแก๊สไข่เน่าเปลี่ยนเป็น Silver sulfide
  • การตรวจอื่นๆ ที่ช่วยในการรักษาคือ การตรวจภาพรังสีทรวงอก (Chest X-ray) ระดับแก๊สในเลือด (blood gas) การตรวจติดตามระดับออกซิเจน (pulse oxymetry) ระดับเกลือแร่ในเลือด (electrolyte) และระดับน้ำตาลในเลือด (blood sugar) ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
การดูแลรักษา
  • ปฐมพยาบาล นำผู้ป่วยออกจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด กรณีผู้ป่วยติดอยู่ในที่อับอากาศผู้ที่เข้าไปช่วยต้องใส่ Self-contained breathing apparatus ลงไปเท่านั้น เมื่อนำผู้ป่วยขึ้นมาให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทดี ถอดเสื้อผ้าที่คับแน่นออก เปิดทางเดินหายใจ ใส่ท่อช่วยหายใจถ้าไม่หายใจ ให้ออกซิเจนเสริม ถ้าหัวใจหยุดเต้นแล้วให้รีบทำการนวดหัวใจช่วยชีวิต (cardiopulmonary resuscitation, CPR) มีรายงานว่าถ้าหัวใจพึ่งหยุดเต้นไปไม่นาน ถ้านวดหัวใจช่วยขึ้นมาได้ผู้ป่วยมีโอกาสกลับฟื้นคืนสติ [5]
  • การรักษา ระยะวิกฤตให้ดูสัญญาณชีพ ช่วยการหายใจ สังเกตระบบไหลเวียนโลหิต ถ้ามีอาการชัก ความดันโลหิตต่ำ หรือไม่รู้สึกตัว ให้ทำการรักษา ||||| เมื่อพ้นระยะวิกฤตแล้วให้สังเกตอาการปอดบวมน้ำ และเนื้อปอดอักเสบ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ภายใน 2 – 3 ชั่วโมงต่อมา ||||| ยาต้านพิษนั้น โดยทฤษฎีแล้ว nitrite สามารถลดพิษได้เช่นเดียวกับกรณีของ cyanide คือสร้าง methemoglobin จาก hemoglobin จากนั้น methemoglobin ที่เกิดขึ้นเชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นให้เปลี่ยน sulfide ions เป็น sulfhemoglobin ได้ อย่างไรก็ตามการ sulfhemoglobin ที่เกิดขึ้นก็อาจทำให้การขนส่งออกซิเจนแย่ลง การให้ยาต้านชนิดนี้ในผู้ป่วยได้รับพิษแก๊สไข่เน่ายังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ถ้าจะให้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การให้ยากรณีหายใจได้เองให้ amyl nitrite 1 – 2 ampules via ambulatory bag ทุก 3 นาที สูงสุดได้ 6 ampules ถ้าผู้ป่วยหมดสติหรือเปิดเส้นได้แล้วเปลี่ยนเป็นให้ 3 % sodium nitrite 10 ml (300 mg) IV ฉีดนาน 3 – 5 นาที ให้ยาชนิดนี้แล้วต้องระวังความดันโลหิตต่ำด้วย [2, 4] ||||| มีรายงานว่าการให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูงในห้องปรับความดันอากาศ (hyperbaric oxygen, HBO) อาจช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามไม่มีผลการศึกษายืนยันที่ชัดเจนในเรื่องนี้ [2]
การป้องกัน  
เนื่องจากพิษของแก๊สไข่เน่ามีความรุนแรงสูงมาก กรณีที่อยู่ในที่อับอากาศอาการมักเกิดขึ้นทันที และทำให้เสียชีวิตทันที การป้องกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุดในการลดการตายจากแก๊สชนิดนี้ การให้ความรู้แก่ผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในที่อับอากาศ การตรวจสุขภาพก่อนปฏิบัติงานเป็นสิ่งจำเป็น ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงควรติดตั้งเครื่องตรวจวัดแก๊สชนิดนี้ และติดตั้งสัญญาณเตือนภัยเมื่อมีการรั่วไหล [1]

เอกสารอ้างอิง
  1. Beckett WS. Chemical Asphyxiants. In: Rom WN, Markovitz SB, eds. Environmental and occupational medicine. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins 2007:566 - 7.
  1. Olson KR, Anderson IB, Benowitz NL, Blanc PD, Clark RF, Kearney TE, et al. Poisoning & drug overdose. the California Poison Control System. 5th ed. New York: McGraw-Hill 2004.
  1. International Programme on Chemical Safety. International Chemical Safety Cards (ICSCs). Geneva: International Labour Office 1998.
  1. Farrow C, Wheeler H, Bates N, Murray V. The chemical incident management handbook. London: The Stationery Office 2000.
  1. Wilkenfeld M. Simple Asphyxiants. In: Rom WN, Markovitz SB, eds. Environmental and occupational medicine. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins 2007:559 - 60

Reference:
http://www.summacheeva.org/index_thaitox_hydrogen_sulfide.htm
http://www.summacheeva.org/index_thaitox_hydrogen_sulfide.htm
https://i.cbc.ca/1.3042878.1429658513!/fileImage/httpImage/image.jpg_gen/derivatives/16x9_1180/sour-gas-well-site-in-southeast-sask.jpg


WWW.FACEBOOK.COM/CLNCLEAN