วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

ควันสะอาด และ ควันพิษ แตกต่างกันอย่างไร ?

ควันสะอาด และ ควันพิษ แตกต่างกันอย่างไร  ?

ควันจากปล่องโรงไฟฟ้า มักสร้างความหวาดวิตกให้กับผู้พบเห็น หรือถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจผิดๆได้เสมอ เพราะฉะนั้น เพื่อความเข้าใจของบุคคลทั่วไป เรามาช่วยกันกระจายความรู้กันเถอะ ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร
12187656_870709866378443_4613355821763631176_n
ความจริงแล้ว ควันที่เห็นจากโรงไฟฟ้าจะมี 2 ลักษณะคือ ควันไอน้ำ และควันจากปล่องโรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
ควันสีขาวๆที่เราเห็นว่าถูกปล่อยออกมาจากปล่องของโรงไฟฟ้า คือ ควันไอน้ำ เกิดจากการระเหยของน้ำในระบบระบายความร้อนของหอหล่อเย็น (Cooling Tower) มองไกลๆ คล้ายควันสีขาว ควันไอน้ำนี้ อาจเห็นได้ชัดในช่วงเช้า พลบค่ำ หลังฝนตก หรือในฤดูหนาว และอาจเป็นสีเทาหรือดำในช่วงเย็นหรือกลางคืนเนื่องจากความมืด
เนื่องจากไอน้ำร้อนจะลอยไปกระทบความเย็นของอากาศ กลั่นตัวเป็นละอองน้ำ หากมีปริมาณมาก จะมองคล้ายควันสีขาวทึบพวยพุ่งออกมา ตัวอย่างง่ายๆ ก็คล้ายๆกันควันที่ออกจากปากเราเวลาอากาศหนาวๆ เมื่อความร้อนกระทบกับความเย็นในอุณหภูมิที่เหมาะสม จะเกิดเป็นไอน้ำ ที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากสังเกตุดีๆ ในเวลากลางวันที่มีอากาศแห้ง เราจะแทบมองไม่เห็นหมอกควันจากปล่องโรงไฟฟ้าเลย
อีกส่วนหนึ่งคือควันจากกระบวนการเผาไหม้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ควันจากกระบวนการเผาไหม้เหล่านี้ จะผ่านการบำบัดด้วยกระบวนการที่ทันสมัยให้ได้มาตรฐานคุณภาพก๊าซเสีย ก่อนปล่อยออกทางปล่องโรงไฟฟ้า(Stack) ควันลักษณะนี้จะมองเห็นได้น้อยมากหรือแทบมองไม่เห็นเลย เนื่องจากการเผาไหม้ในโรงไฟฟ้าจะต้องมีประสิทธิภาพสูง และมีความสมบูรณ์
การบำบัดก๊าซเสียจากโรงไฟฟ้าเพื่อให้ได้คุณภาพก่อนปล่อยออกทางปล่องโรงไฟฟ้านั้น จะพิจารณาองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์ โดยดัชนีชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ ค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และฝุ่น ที่ปะปนอยู่ในควัน
ถึงจะมั่นใจว่าควันจากกระบวนการเผาไหม้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่จะไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม แต่โรงไฟฟ้าจะต้องตรวจวัดคุณภาพอากาศใน 2 ลักษณะไปพร้อมๆ กัน คือ
• ตรวจวัดจากปล่อง(Continuous Emission Monitoring At Stack)
• การตรวจวัดพื้นที่โดยรอบบริเวณ(Ambient Air Quality Monitoring)
ยกตัวอย่างโรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีสถานีตรวจวัดรอบบริเวณโรงไฟฟ้าถึง 13 สถานี โดยเป็นของกรมควบคุมมลพิษ 2 สถานี และเป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอีก 11 สถานี ถ้าสถานีไหนที่วัดค่าแล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทางโรงไฟฟ้าก็มีมาตรการควบคุมเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เช่น ลดกำลังผลิต(การลดเชื้อเพลิงถ่านลง) ในกรณีร้ายแรงที่สุดจะถึงขั้นหยุดเดินโรงไฟฟ้าทันที
ดังนั้นมั่นใจได้ว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะสามารถควบคุมมลพิษได้เป็นอย่างดี ทำให้มั่นใจได้ว่า คุณภาพอากาศโดยรอบโรงไฟฟ้าจะปลอดภัยสำหรับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจริง


www.facebook.com/clnclean
CALL:085-113-9968
E-mail:wiseversa168@gmail.com



credit: http://www.balanceenergythai.com/video/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%94-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9-%E0%B9%81%E0%B8%95/